วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กิจกรรมนันทนาการเล่นดนตรีและร้องเพลง (Music and Singing)

 ดนตรีเป็นภาษากลางที่ใช้สื่อสาร  หรือถ่ายทอดความรู้สึกของมวลมนุษยชาติ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน บุคคล ชุมชน คุ้นเคยกับดนตรี  ทั้งในด้านการเรียนรู้การสื่อสาร  การแสดงออกแห่งตน การท้าทาย การแสดงความสามารถขั้นสูงสุดที่บุคคลจะพึงกระทำได้ ดนตรีเป็นการระบายอารมณ์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดขณะทำงาน  หรือเวลาว่าง กล่าวโดยสรุป ดนตรีเป็นนันทนาการที่ต้องมีควบคู่กับสังคม  เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน มีบทบาทต่อบุคคล ชุมชน สังคม และประเทศชาติ






 ประเภทของดนตรี จำแนกตามลักษณะการเข้าร่วม ดังนี้คือ
          1. การร้องเพลง เช่น เพลงไทย  สากล  เพลงโอเปร่า  เพลงคลาสสิก เป็นต้น
          2. การเล่นดนตรี เช่น เครื่องสาย  กีตาร์  เปียโน  ไวโอลิน  เป็นต้น
          3. การฟังดนตรี เช่น คอนเสิร์ต  ซิมโฟนี  เครื่องสาย  เป็นต้น
          4. เพลงประกอบกิจกรรมเข้าจังหวะ เช่น เพลงพื้นเมือง  รำวง  เป็นต้น
          5. การสร้างสรรค์ทางดนตรี เช่น การแต่งเพลง เนื้อร้อง ทำนอง การประดิษฐ์อุปกรณ์ดนตรี เป็นต้น
          6. กิจกรรมดนตรีแบบผสม เช่น การเต้นรำพื้นเมือง  ระบำบัลเล่ต์  ละครเพลงโอเปร่า                เทศกาลดนตรี  เป็นต้น
     รูปแบบการจัดกิจกรรม
          1.  ดนตรีสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น โรงเรียนสอนดนตรี ดนตรีสำหรับเยาวชน การศึกษาการเล่นและฟังดนตรี  เป็นต้น
          2.  ดนตรีสำหรับประชาชน การจัดสวัสดิการดนตรีสำหรับประชาชนทั่วไป เช่น ศูนย์สังคีต สังคีตศาลา  ศูนย์วัฒนธรรมหรือคอนเสิร์ตเพื่อธุรกิจการบันเทิง ผับ ดิสโก คลับ สโมสร ห้องอาหาร ภัตตาคาร เป็นต้น
          3.  ดนตรีสำหรับวัยสูงอายุ  เพื่อบริการแก่ประชากรสูงอายุ  ซึ่งมีความต้องการและสนใจในกิจกรรมดนตรีที่แตกต่างออกไป
          4.  ดนตรีสำหรับประชากรกลุ่มพิเศษ เช่น คนพิการ  บุคคลด้อยโอกาส  กลุ่มเยาวชน  และกลุ่ม พฤติกรรมเบี่ยงเบน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น